พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระปากน้ำรุ่น4 ...
พระปากน้ำรุ่น4 พิมพ์สามเหลี่ยม
พระธรรมขันธ์ รุ่น 4

เมื่อพระของขวัญรุ่น 3 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำได้สร้างไว้เป็นรุ่นสุดท้ายได้หมดลงแล้ว และปรากฏว่ายังมีผู้นิยมต้องการพระวัดปากน้ำอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นทางวัดปากน้ำโดยคณะศิษยานุศิษย์จึงได้ทำการจัดสร้างพระขึ้นใหม่อีกรุ่นหนึ่ง นับเป็นรุ่นที่ 4 ต่อจากรุ่นที่ 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างไว้ ทางวัดได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นโดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสเป็นประธาน และได้มอบหมายให้พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระดำเนินการจัดสร้างพระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 ขึ้นมามีจำนวน 800,000 องค์ (แปดแสน) โดยได้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา และได้เริ่มนำออกให้เช่าบูชาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และได้จำหน่ายหมดในปี พ.ศ. 2527 พระรุ่น 4 นี้มีชื่อเรียกว่า “พระธรรมขันธ์”

มีคำชี้แจงตอนหนึ่ง ของพระเดชพระคุณพระภาวนาโกศลเถร ในสมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิรมเป็นคำชี้แจงที่พิมพ์ห่ออยู่กับพระธรรมขันธ์ ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า

....เนื่องด้วยพระของขวัญของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่นได้แจกหมดไปแล้วเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ทางวัดจึงได้จัดทำพระผงขึ้นใหม่ เรียกว่า “พระธรรมขันธ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ” โดยนำผงพระของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่น คือรุ่น 1 รุ่น 2 รุ่น 3 ผสมรวมกันเพื่อทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และนำเข้าพิธีโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้วิชาธรรมกายทำพิธีตลอดไตรมาสสามเดือนในพรรษาและได้เริ่มแจกในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันออกพรรษา เมื่อท่านทั้งหลายได้รับไปแล้ว จงเก็บรักษาไว้ให้ดี เมื่อมีอุปสรรคอันใดเกิด่ขึ้น จงตั้งจิตอธิษฐานเอาเถิด...

ในการสร้างพระธรรมขันธ์นี้ ทางวัดได้จัดพิมพ์พระคะแนนในรุ่นนี้ขึ้นด้วย เรียกว่า พระคะแนนรุ่น 4 โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกัน พระคะแนนนี้มีความแตกต่างพิเศษจากพิมพ์ธรรมดาอยู่ 2 ประการ คือด้านหน้าองค์พระจะใส่เส้นเกศาของหลวงพ่อไว้ทุกองค์ เส้นเดียวก็มี หลายเส้นก็มี บางองค์อาจจะไม่ปรากฏเห็น เนื่องจากหลุดหายไปหรือไม่ก็อาจจะฝังจมอยู่ในเนื้อ ด้านหลังองค์พระจะมีตัว “ภ” พิมพ์อยู่เป็นพิเศษอยู่ ด้วย อักษรตัว “ภ” นี้ย่อมาจากคำว่า “พระครูภาวนาภิรม” ชื่อของผู้สร้างในสมัยนั้น พระคะแนนนี้มีทั้งชนิดพิมพ์ 4 เหลี่ยม และชนิดพิมพ์ 3 เหลี่ยม ทางวัดได้นำออกให้ประชาชนได้นำออกให้ประชาชนได้เช่าบูชาในราคาองค์ละ 100 บาท ส่วนพิมพ์ธรรมดาองค์ละ 25 บาทเท่านั้น

พระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ ถึงแม้จะเป็นรุ่นที่คณะศิษย์ของหลวงพ่อเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกหรือเป็นรุ่นแรกที่คณะศิษย์ได้สร้างขึ้นก็ตาม หากจะกล่าวถึงในด้านชื่อเสียงและความนิยมโดยทั่วไปแล้วก็นับได้ว่าไม่แตกต่างจากพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างขึ้นเนื่อเพราะว่าในรุ่นนี้ ได้นำเอาผงพระของขวัญของหลวงพ่อทั้ง 3 รุ่นมาเป็นส่วนผสมด้วยประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือได้ทำพิธีบรรจุอานุภาพตามหลักวิชาธรรมกายเหมือนรุ่น 1-2-3 ซึ่งทางคณะศิษย์ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย จนถึงปัจจุบัน พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์มีผู้นิยมนำไปสักการบูชากันอย่างแพร่หลายจนกระทั่งหมดในปี พ.ศ. 2527

แม่พิมพ์
แม่พิมพ์ของพระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จัดแยกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทพิมพ์สี่เหลี่ยมกับประเภทพิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์สี่เหลี่ยมนั้นมี 2 พิมพ์ และพิมพ์สามเหลี่ยมมี 2 พิมพ์เช่นกัน เมื่อรวมกันแล้วพระธรรมขันธ์รุ่น 4 จึงมีทั้งหมด 4 พิมพ์ด้วยกัน


ขนาดของพระธรรมขันธ์แบบสี่เหลี่ยมทั้งสองพิมพ์กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 2.4 ซม. ความหนาประมาณ 6 มม. ชนิดสามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ฐานกว้างประมาณ 1.7 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. หนาประมาณ 6 มม. พุทธลักษณะทั่วไปของพระสี่เหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์นั้นเป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นลักษณะจีบนิ้วอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขีดๆ เรีงกันเป็นลำดับ ฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์”

พุทธลักษณะทั่วไปของพระพิมพ์สามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ เป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนาเช่นกัน พระหัตถ์ซ้ายที่ว่างบนพระเพลา จีบเป็นวงเข้าหากัน และพระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นก็มีลักษณะจีบนิ้ว ขอบรอบองค์พระเป็นลายกนกสวยงาม ด้านหลังพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์”

ส่วนผสมรุ่น 4
พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีส่วนผสมหลายอย่างจะกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้
1.ปูนขาว ที่ทำจากเปลือกหอย
2.กล้วยน้ำว้า
3.ดอกไม้ต่างๆ โดยเฉพาะดอกมะลิ
4.ผงพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3
5.อัญมณีบางส่วน
6.เส้นเกศาของหลวงพ่อ (โดยเฉพาะพระคะแนน)
7.น้ำมันตั้งอิ๊ว
8.และอื่นๆ

นื้อพระรุ่น 4
พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ แยกประเภทของเนื้อพระออกโดยทั่วๆ ไปเป็น 4 ประการคือ
1. เนื้อสีขาว 3. เนื้อสีคล้ำหม่น
2. เนื้อสีเหลือง 4. เนื้อเกล็ดสีขาว (สังขยา)

พระเนื้อสีขาว ลักษณะของเนื้อจะเป็นสีขาวนวลไม่ใช่ขาวซีด อีกประการหนึ่งจะเป็นสีขาวอมเหลืองอ่อนๆ พบมากโดยทั่วไป

เนื้อสีเหลือง เนื้อพระชนิดนี้มีทั้งชนิดสีเหลืองอ่อน สีเหลืองเข้มและสีลักษณะเหลืองใสคล้ายเนื้อเทียน เนื้อพระชนิดนี้จะเป็นที่นิยม

เนื้อสีคล้ำหม่น ลักษณะคล้ายๆ จะเป็นสีดำๆ หรือน้ำตาลปึกแก่ๆ สีเนื้อชนิดนี้มีพบอยู่ไม่มากนัก

เนื้อเกล็ดสีขาว พระเนื้อเกล็ดหรือที่รู้จักกันเรียกันโดยทั่วไปว่า “เนื้อสังขยา” นี้ เป็นพระที่มีเนื้อแปลกแตกต่างออกไปจากเนื้ออื่นๆ ลักษณะของเนื้อพระจะขึ้นเป็นเกล็ดขาวๆ เต็มไปทั่วทั้งองค์ หากถูกจับถูบ่อยๆ หรือถูกความเปียกชื้น เกล็ดนี้ก็จะหลุดล่อนออกได้ สีของเนื้อพระด้านในที่เป็นสีเหลืองก็มี ที่เป็นสีคล้ำๆ ดำๆ คล้ายสีน้ำตาลปึกก็มี พระเนื้อเกล็ดนี้หากสังเกตให้ดีจะพบว่ามีจำนวนอัญมณีผสมรวมอยู่มาเป็นพิเศษ

ข้อสังเกต
พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีข้อสังเกตบางประการที่น่าสนใจ คือเราจะพบเห็นว่า พระบางองค์อาจจะมีจุดตำหนิต่างๆ ที่ผิดหูผิดตา หรือผิดแปลกแตกต่างออกไปจากองค์อื่นๆ โดยทั่วไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นที่หูหรือที่ซุ้มก็ตาม หรือบางทีจะปรากฏมีเส้นเป็นรอยพิมพ์แตกบ้าง และบางองค์ ปาก จมูก จะใหญ่โตกว่าพิมพ์อื่นๆ ธรรมดาโยทั่วไปบ้าง
ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการถอดพิมพ์บ้าง เกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดร้าวบ้าง จากสาเหตุดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดการผิดเพี้ยนขึ้นมา
แต่ถึงอย่างไรก็ตามพิมพ์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ถึงจะมีอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น ไม่ถือเป็นประมาณในการนับแยกพิมพ์ พระธรรมขันธ์รุ่น 4 ก็มีเพียง 4 พิมพ์ตามแม่พิมพ์ต้นแบบเท่าเดิมทุกประการ มิใช่นอกเหนือมากไปกว่านี้

พระธรรมขันธ์ : รุ่นบรรจุกรุ
พระธรรมขันธ์รุ่นบรรจุกรุนี้ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยคณะศิษยานุศิษย์ซึ่งมีพระธรรมธีราชมหามุนี (เจ้าอาวาส) เป็นประธาน และพระภาวนาโกศลเถร (รองเจ้าอาวาส) เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ในปีเดียวกัน มีจำนวนประมาณ 1,201,250 องค์ (หนึ่งล้านสองแสนหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบ) โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการจะสร้างเพื่อเก็บบรรจุไว้ในกรุ ที่หอเจริญวิปัสสนา โดยได้กำหนดไว้ว่า ในอีกร้อยปีข้างหน้าจึงจะทำการเปิดกรุนี้ แล้วนำพระที่ได้บรรจุลงไปนั้น นำออกมาจำหน่ายจ่ายแจกให้ประชาชนได้เช่าบูชาและจะได้นำจตุปัจจัยที่ได้จากการนี้มาบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดต่อไป

เนื่องจากพระรุ่นบรรจุกรุนี้ หลังจากที่ได้ทำการบรรจุลงกรุเสร็จสิ้นแล้ว ยังมีส่วนหนึ่งที่เหลือจากการบรรจุ ทางวัดจึงได้นำเอาส่วนที่เหลืออยู่นั้น นำออกมาจำหน่ายให้ประชาชนได้เช่าบูชา มีประมาณ 71,032 องค์ (เจ็ดหมื่นหนึ่งพันสามสิบสอง) โดยได้จำหน่ายเพียงไม่กี่วันก็หมดลง คือเริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2528 พระจำนวนดังกล่าวนี้ ก็ได้หมดลงอย่างรวดเร็ว โดยได้จำหน่ายให้ประชาชนได้บูชา องค์ละ 100 บาท ซึ่งก็ได้รับความนิยมสนใจจากประชาชนโดยทั่วไป

พระธรรมขันธ์รุ่นบรรจุกรุนี้ ได้ใช้แม่พิมพ์อันเดียวกันกับพระธรรมขันธ์รุ่น 4 เปลี่ยนแต่อักขระด้านหลัง อักขระด้านหลังองค์พระนั้นจะแตกต่างกัน ตัวอักขระจะมีความคมลึกกว่า และลักษณะการเดินเส้น การโค้งงอนของหัวหาง ของอักขระก็แตกต่างกันด้วย ส่วนในด้านเนื้อหาของพระรุ่นบรรจุกรุนี้จะหยาบกว่ารุ่น 4 เล็กน้อย สีเนื้อส่วนมากมักจะออกเป็นสีเหลือง และที่เป็นสีขาวก็มีบ้างแต่ก็น้อยกว่า ส่วนผสมต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับพระรุ่น 4 ทุกประการ

พระรุ่นพิเศษ : สำหรับแจกเจ้าภาพที่บรรจุพระ
พระรุ่นพิเศษนี้ สร้างขึ้นสำหรับแจกแก่เจ้าภาพผู้ทำบุญบรรจุพระ โดยเฉพาะผู้ที่บรรจุพระ 100 องค์ จะได้รับแจกพระรุ่นพิเศษนี้ 2 องค์ เป็นพิมพ์ใหญ่ 1 องค์ เป็นพิมพ์เล็ก 1 องค์ จะแจกให้เฉพาะเจ้าภาพที่บรรจุพระเท่านั้น ไม่มีการให้เช่าแต่ประการใด “สร้างขึ้นพร้อมกับพระธรรมขันธ์รุ่นบรรจุกรุ” คือในปี 2518 มีส่วนผสม กรรมวิธีเช่นเดียวกันทุกประการ

พระรุ่นพิเศษพิมพ์ใหญ่
พระรุ่นพิเศษพิมพ์ใหญ่ มีพิมพ์เดียว ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 2.7 ซม. ยาวประมาณ 3.8 ซม. หนาประมาณ 6 มม. เป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้ว อยู่ในซุ้มข้างซุ้มมีเส้นม่านเป็นขีดๆ ฐานบัวสองชั้น ด้านหลังเขียนเป็นอักขระขอม อ่านว่า ธรรมขันธ์ ด้านล่างต่อจากตัวอักขระพิมพ์เป็นตัว “ภ” อยู่ในวงกลมและนอกจากนี้ยังได้โรยทับทิมหรือพวกอัญมณีไว้เป็นพิเศษที่ด้านหลัง และมีส่วนผสมของพระของขวัญรุ่น 1-2-3 และเกศาของหลวงพ่ออีกด้วย เนื้อส่วนมากเป็นสีขาว และสีเหลืองอ่อนๆ

พระรุ่นพิเศษพิมพ์เล็ก
พระรุ่นพิเศษพิมพ์เล็ก ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1.7 ซม. ขาวประมาณ 2.4 ซม. ความหนาประมาณ 4 มม. พุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา มีซุ้ม มีม่าน ฐานเป็นบัวสองชั้นเช่นเดียวกับพระธรรมขันธ์รุ่น 4 แต่องค์พระจะนูนเด่นลอยขึ้นมา ลักษณะใบหน้า การวางมือ และส่วนละเอียดต่างๆ จะแตกต่างกัน ด้านหลังเขียนเป็นอักขระขอมอ่านว่า ธรรมขันธ์ อักขระด้านหลังเป็นแบบเดียวกับรุ่น 4 และรุ่นบรรจุกรุทั้งสองอย่าง ส่วนผสมต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับรุ่น 4 สีเนื้อส่วนมากเป็นสีขาวและสีน้ำตาลเข้ม

อ้างอิง : พระของขวัญ วัดปากน้ำ พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2539
รวบรวมโดย พระมหาสมควร แสนมหาเกษม
ผู้เข้าชม
28658 ครั้ง
ราคา
โทรถาม
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
พุทธคุณ คุณพระ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
vayu789
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
หมี คุณพระช่วยเจริญสุขholypanyadvmnatthanetRAPINNithiporn
Muthitaอ้วนโนนสูงjochoณัฐฐ์ เสพศิลป์AmuletManvayu
0899373228ภูมิ IRโกหมูchaithawatบ้านพระหลักร้อยtermboon
stp253พระดี46บ้านพระสมเด็จtplasก้อง วัฒนาศิลาแลง
ยอด วัดโพธิ์เทพจิระhoppermanep8600ว.ศิลป์สยามtumlawyer

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1130 คน

เพิ่มข้อมูล

พระปากน้ำรุ่น4 พิมพ์สามเหลี่ยม




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระปากน้ำรุ่น4 พิมพ์สามเหลี่ยม
รายละเอียด
พระธรรมขันธ์ รุ่น 4

เมื่อพระของขวัญรุ่น 3 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำได้สร้างไว้เป็นรุ่นสุดท้ายได้หมดลงแล้ว และปรากฏว่ายังมีผู้นิยมต้องการพระวัดปากน้ำอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นทางวัดปากน้ำโดยคณะศิษยานุศิษย์จึงได้ทำการจัดสร้างพระขึ้นใหม่อีกรุ่นหนึ่ง นับเป็นรุ่นที่ 4 ต่อจากรุ่นที่ 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างไว้ ทางวัดได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นโดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสเป็นประธาน และได้มอบหมายให้พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระดำเนินการจัดสร้างพระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 ขึ้นมามีจำนวน 800,000 องค์ (แปดแสน) โดยได้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา และได้เริ่มนำออกให้เช่าบูชาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และได้จำหน่ายหมดในปี พ.ศ. 2527 พระรุ่น 4 นี้มีชื่อเรียกว่า “พระธรรมขันธ์”

มีคำชี้แจงตอนหนึ่ง ของพระเดชพระคุณพระภาวนาโกศลเถร ในสมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิรมเป็นคำชี้แจงที่พิมพ์ห่ออยู่กับพระธรรมขันธ์ ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า

....เนื่องด้วยพระของขวัญของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่นได้แจกหมดไปแล้วเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ทางวัดจึงได้จัดทำพระผงขึ้นใหม่ เรียกว่า “พระธรรมขันธ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ” โดยนำผงพระของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่น คือรุ่น 1 รุ่น 2 รุ่น 3 ผสมรวมกันเพื่อทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และนำเข้าพิธีโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้วิชาธรรมกายทำพิธีตลอดไตรมาสสามเดือนในพรรษาและได้เริ่มแจกในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันออกพรรษา เมื่อท่านทั้งหลายได้รับไปแล้ว จงเก็บรักษาไว้ให้ดี เมื่อมีอุปสรรคอันใดเกิด่ขึ้น จงตั้งจิตอธิษฐานเอาเถิด...

ในการสร้างพระธรรมขันธ์นี้ ทางวัดได้จัดพิมพ์พระคะแนนในรุ่นนี้ขึ้นด้วย เรียกว่า พระคะแนนรุ่น 4 โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกัน พระคะแนนนี้มีความแตกต่างพิเศษจากพิมพ์ธรรมดาอยู่ 2 ประการ คือด้านหน้าองค์พระจะใส่เส้นเกศาของหลวงพ่อไว้ทุกองค์ เส้นเดียวก็มี หลายเส้นก็มี บางองค์อาจจะไม่ปรากฏเห็น เนื่องจากหลุดหายไปหรือไม่ก็อาจจะฝังจมอยู่ในเนื้อ ด้านหลังองค์พระจะมีตัว “ภ” พิมพ์อยู่เป็นพิเศษอยู่ ด้วย อักษรตัว “ภ” นี้ย่อมาจากคำว่า “พระครูภาวนาภิรม” ชื่อของผู้สร้างในสมัยนั้น พระคะแนนนี้มีทั้งชนิดพิมพ์ 4 เหลี่ยม และชนิดพิมพ์ 3 เหลี่ยม ทางวัดได้นำออกให้ประชาชนได้นำออกให้ประชาชนได้เช่าบูชาในราคาองค์ละ 100 บาท ส่วนพิมพ์ธรรมดาองค์ละ 25 บาทเท่านั้น

พระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ ถึงแม้จะเป็นรุ่นที่คณะศิษย์ของหลวงพ่อเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกหรือเป็นรุ่นแรกที่คณะศิษย์ได้สร้างขึ้นก็ตาม หากจะกล่าวถึงในด้านชื่อเสียงและความนิยมโดยทั่วไปแล้วก็นับได้ว่าไม่แตกต่างจากพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างขึ้นเนื่อเพราะว่าในรุ่นนี้ ได้นำเอาผงพระของขวัญของหลวงพ่อทั้ง 3 รุ่นมาเป็นส่วนผสมด้วยประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือได้ทำพิธีบรรจุอานุภาพตามหลักวิชาธรรมกายเหมือนรุ่น 1-2-3 ซึ่งทางคณะศิษย์ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย จนถึงปัจจุบัน พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์มีผู้นิยมนำไปสักการบูชากันอย่างแพร่หลายจนกระทั่งหมดในปี พ.ศ. 2527

แม่พิมพ์
แม่พิมพ์ของพระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จัดแยกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทพิมพ์สี่เหลี่ยมกับประเภทพิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์สี่เหลี่ยมนั้นมี 2 พิมพ์ และพิมพ์สามเหลี่ยมมี 2 พิมพ์เช่นกัน เมื่อรวมกันแล้วพระธรรมขันธ์รุ่น 4 จึงมีทั้งหมด 4 พิมพ์ด้วยกัน


ขนาดของพระธรรมขันธ์แบบสี่เหลี่ยมทั้งสองพิมพ์กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 2.4 ซม. ความหนาประมาณ 6 มม. ชนิดสามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ฐานกว้างประมาณ 1.7 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. หนาประมาณ 6 มม. พุทธลักษณะทั่วไปของพระสี่เหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์นั้นเป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นลักษณะจีบนิ้วอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขีดๆ เรีงกันเป็นลำดับ ฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์”

พุทธลักษณะทั่วไปของพระพิมพ์สามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ เป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนาเช่นกัน พระหัตถ์ซ้ายที่ว่างบนพระเพลา จีบเป็นวงเข้าหากัน และพระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นก็มีลักษณะจีบนิ้ว ขอบรอบองค์พระเป็นลายกนกสวยงาม ด้านหลังพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์”

ส่วนผสมรุ่น 4
พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีส่วนผสมหลายอย่างจะกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้
1.ปูนขาว ที่ทำจากเปลือกหอย
2.กล้วยน้ำว้า
3.ดอกไม้ต่างๆ โดยเฉพาะดอกมะลิ
4.ผงพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3
5.อัญมณีบางส่วน
6.เส้นเกศาของหลวงพ่อ (โดยเฉพาะพระคะแนน)
7.น้ำมันตั้งอิ๊ว
8.และอื่นๆ

นื้อพระรุ่น 4
พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ แยกประเภทของเนื้อพระออกโดยทั่วๆ ไปเป็น 4 ประการคือ
1. เนื้อสีขาว 3. เนื้อสีคล้ำหม่น
2. เนื้อสีเหลือง 4. เนื้อเกล็ดสีขาว (สังขยา)

พระเนื้อสีขาว ลักษณะของเนื้อจะเป็นสีขาวนวลไม่ใช่ขาวซีด อีกประการหนึ่งจะเป็นสีขาวอมเหลืองอ่อนๆ พบมากโดยทั่วไป

เนื้อสีเหลือง เนื้อพระชนิดนี้มีทั้งชนิดสีเหลืองอ่อน สีเหลืองเข้มและสีลักษณะเหลืองใสคล้ายเนื้อเทียน เนื้อพระชนิดนี้จะเป็นที่นิยม

เนื้อสีคล้ำหม่น ลักษณะคล้ายๆ จะเป็นสีดำๆ หรือน้ำตาลปึกแก่ๆ สีเนื้อชนิดนี้มีพบอยู่ไม่มากนัก

เนื้อเกล็ดสีขาว พระเนื้อเกล็ดหรือที่รู้จักกันเรียกันโดยทั่วไปว่า “เนื้อสังขยา” นี้ เป็นพระที่มีเนื้อแปลกแตกต่างออกไปจากเนื้ออื่นๆ ลักษณะของเนื้อพระจะขึ้นเป็นเกล็ดขาวๆ เต็มไปทั่วทั้งองค์ หากถูกจับถูบ่อยๆ หรือถูกความเปียกชื้น เกล็ดนี้ก็จะหลุดล่อนออกได้ สีของเนื้อพระด้านในที่เป็นสีเหลืองก็มี ที่เป็นสีคล้ำๆ ดำๆ คล้ายสีน้ำตาลปึกก็มี พระเนื้อเกล็ดนี้หากสังเกตให้ดีจะพบว่ามีจำนวนอัญมณีผสมรวมอยู่มาเป็นพิเศษ

ข้อสังเกต
พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีข้อสังเกตบางประการที่น่าสนใจ คือเราจะพบเห็นว่า พระบางองค์อาจจะมีจุดตำหนิต่างๆ ที่ผิดหูผิดตา หรือผิดแปลกแตกต่างออกไปจากองค์อื่นๆ โดยทั่วไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นที่หูหรือที่ซุ้มก็ตาม หรือบางทีจะปรากฏมีเส้นเป็นรอยพิมพ์แตกบ้าง และบางองค์ ปาก จมูก จะใหญ่โตกว่าพิมพ์อื่นๆ ธรรมดาโยทั่วไปบ้าง
ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการถอดพิมพ์บ้าง เกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดร้าวบ้าง จากสาเหตุดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดการผิดเพี้ยนขึ้นมา
แต่ถึงอย่างไรก็ตามพิมพ์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ถึงจะมีอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น ไม่ถือเป็นประมาณในการนับแยกพิมพ์ พระธรรมขันธ์รุ่น 4 ก็มีเพียง 4 พิมพ์ตามแม่พิมพ์ต้นแบบเท่าเดิมทุกประการ มิใช่นอกเหนือมากไปกว่านี้

พระธรรมขันธ์ : รุ่นบรรจุกรุ
พระธรรมขันธ์รุ่นบรรจุกรุนี้ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยคณะศิษยานุศิษย์ซึ่งมีพระธรรมธีราชมหามุนี (เจ้าอาวาส) เป็นประธาน และพระภาวนาโกศลเถร (รองเจ้าอาวาส) เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ในปีเดียวกัน มีจำนวนประมาณ 1,201,250 องค์ (หนึ่งล้านสองแสนหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบ) โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการจะสร้างเพื่อเก็บบรรจุไว้ในกรุ ที่หอเจริญวิปัสสนา โดยได้กำหนดไว้ว่า ในอีกร้อยปีข้างหน้าจึงจะทำการเปิดกรุนี้ แล้วนำพระที่ได้บรรจุลงไปนั้น นำออกมาจำหน่ายจ่ายแจกให้ประชาชนได้เช่าบูชาและจะได้นำจตุปัจจัยที่ได้จากการนี้มาบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดต่อไป

เนื่องจากพระรุ่นบรรจุกรุนี้ หลังจากที่ได้ทำการบรรจุลงกรุเสร็จสิ้นแล้ว ยังมีส่วนหนึ่งที่เหลือจากการบรรจุ ทางวัดจึงได้นำเอาส่วนที่เหลืออยู่นั้น นำออกมาจำหน่ายให้ประชาชนได้เช่าบูชา มีประมาณ 71,032 องค์ (เจ็ดหมื่นหนึ่งพันสามสิบสอง) โดยได้จำหน่ายเพียงไม่กี่วันก็หมดลง คือเริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2528 พระจำนวนดังกล่าวนี้ ก็ได้หมดลงอย่างรวดเร็ว โดยได้จำหน่ายให้ประชาชนได้บูชา องค์ละ 100 บาท ซึ่งก็ได้รับความนิยมสนใจจากประชาชนโดยทั่วไป

พระธรรมขันธ์รุ่นบรรจุกรุนี้ ได้ใช้แม่พิมพ์อันเดียวกันกับพระธรรมขันธ์รุ่น 4 เปลี่ยนแต่อักขระด้านหลัง อักขระด้านหลังองค์พระนั้นจะแตกต่างกัน ตัวอักขระจะมีความคมลึกกว่า และลักษณะการเดินเส้น การโค้งงอนของหัวหาง ของอักขระก็แตกต่างกันด้วย ส่วนในด้านเนื้อหาของพระรุ่นบรรจุกรุนี้จะหยาบกว่ารุ่น 4 เล็กน้อย สีเนื้อส่วนมากมักจะออกเป็นสีเหลือง และที่เป็นสีขาวก็มีบ้างแต่ก็น้อยกว่า ส่วนผสมต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับพระรุ่น 4 ทุกประการ

พระรุ่นพิเศษ : สำหรับแจกเจ้าภาพที่บรรจุพระ
พระรุ่นพิเศษนี้ สร้างขึ้นสำหรับแจกแก่เจ้าภาพผู้ทำบุญบรรจุพระ โดยเฉพาะผู้ที่บรรจุพระ 100 องค์ จะได้รับแจกพระรุ่นพิเศษนี้ 2 องค์ เป็นพิมพ์ใหญ่ 1 องค์ เป็นพิมพ์เล็ก 1 องค์ จะแจกให้เฉพาะเจ้าภาพที่บรรจุพระเท่านั้น ไม่มีการให้เช่าแต่ประการใด “สร้างขึ้นพร้อมกับพระธรรมขันธ์รุ่นบรรจุกรุ” คือในปี 2518 มีส่วนผสม กรรมวิธีเช่นเดียวกันทุกประการ

พระรุ่นพิเศษพิมพ์ใหญ่
พระรุ่นพิเศษพิมพ์ใหญ่ มีพิมพ์เดียว ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 2.7 ซม. ยาวประมาณ 3.8 ซม. หนาประมาณ 6 มม. เป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้ว อยู่ในซุ้มข้างซุ้มมีเส้นม่านเป็นขีดๆ ฐานบัวสองชั้น ด้านหลังเขียนเป็นอักขระขอม อ่านว่า ธรรมขันธ์ ด้านล่างต่อจากตัวอักขระพิมพ์เป็นตัว “ภ” อยู่ในวงกลมและนอกจากนี้ยังได้โรยทับทิมหรือพวกอัญมณีไว้เป็นพิเศษที่ด้านหลัง และมีส่วนผสมของพระของขวัญรุ่น 1-2-3 และเกศาของหลวงพ่ออีกด้วย เนื้อส่วนมากเป็นสีขาว และสีเหลืองอ่อนๆ

พระรุ่นพิเศษพิมพ์เล็ก
พระรุ่นพิเศษพิมพ์เล็ก ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1.7 ซม. ขาวประมาณ 2.4 ซม. ความหนาประมาณ 4 มม. พุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา มีซุ้ม มีม่าน ฐานเป็นบัวสองชั้นเช่นเดียวกับพระธรรมขันธ์รุ่น 4 แต่องค์พระจะนูนเด่นลอยขึ้นมา ลักษณะใบหน้า การวางมือ และส่วนละเอียดต่างๆ จะแตกต่างกัน ด้านหลังเขียนเป็นอักขระขอมอ่านว่า ธรรมขันธ์ อักขระด้านหลังเป็นแบบเดียวกับรุ่น 4 และรุ่นบรรจุกรุทั้งสองอย่าง ส่วนผสมต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับรุ่น 4 สีเนื้อส่วนมากเป็นสีขาวและสีน้ำตาลเข้ม

อ้างอิง : พระของขวัญ วัดปากน้ำ พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2539
รวบรวมโดย พระมหาสมควร แสนมหาเกษม
ราคาปัจจุบัน
โทรถาม
จำนวนผู้เข้าชม
28659 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
พุทธคุณ คุณพระ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0816337541
ID LINE
vayu789
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี